ซีพีเอฟ เดินหน้าเสริมสวัสดิภาพสัตว์ในห่วงโซ่การผลิตไก่-หมู-กุ้ง ชูผลิตภัณฑ์ไก่เคจฟรีนำร่อง ลุยต่อฟาร์มสุกรในไทยขังรวมอิสระเป้าหมาย100% ในปี 2568
นสพ.พยุงศักดิ์ สมยานนทนากุล รองกรรมการผู้จัดการ ด้านมาตรฐานอาหารสากล บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟในฐานะประธานคณะกรรมการสวัสดิภาพสัตว์กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคหันมาปรุงอาหารทานเองที่บ้านมากขึ้น และคำนึงถึงคุณภาพวัตถุดิบว่าต้องปลอดภัย และมาจากการผลิตที่รับผิดชอบเพิ่มขึ้นด้วย
“ซีพีเอฟได้ริเริ่มใช้หลักสวัสดิภาพสัตว์ในการเลี้ยงไก่เนื้อมาตั้งแต่ปี 2532นำเทคโนโลยีโรงเรือนระบบปิดปรับอากาศพร้อมอุปกรณ์อัตโนมัติมาใช้ช่วยให้ไก่อยู่สุขสบาย ได้รับอาหารและน้ำอย่างเพียงพอและแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติอย่างอิสระ ถือเป็นภาคเอกชนไทยรายแรกนอกเขตสหภาพยุโรปที่ได้รับรองมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ และเมื่อปี 2561 ได้พัฒนาเนื้อไก่พรีเมี่ยม Benja Chicken แบรนด์ยูฟาร์มที่เลี้ยงด้วยข้าวกล้องปลอดสารตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ได้รับการรับรองจาก NSF”
ทั้งนี้ ปัจจุบันกิจการซีพีเอฟมีเจ้าหน้าที่ด้านสวัสดิภาพสัตว์ดูแลฟาร์มไก่เนื้อทุกแห่ง และได้ร่วมกับ AW Training มหาวิทยาลัยบริสตอล แห่งสหราชอาณาจักร ฝึกอบรมผู้เชี่ยวชาญและนำเทคโนโลยี smart farm ใช้ระบบอัตโนมัติบริการจัดการฟาร์ม เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
นสพ.ดำเนิน จตุรวิธวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจสุกรของซีพีเอฟกล่าวว่า ธุรกิจสุกรของซีพีเอฟได้เดินหน้าปรับเปลี่ยนโรงเรือนสำหรับเลี้ยงสุกรแม่พันธุ์อุ้มท้องเป็นระบบการเลี้ยงคอกขังรวม เพื่อเป็นการให้อิสระแม่พันธุ์อุ้มท้องในการเคลื่อนไหวและมีปฏิสัมพันธ์กับสุกรตัวอื่น ๆ ทำให้แม่สุกรผ่อนคลายไม่เครียด และสามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้อย่างเต็มที่ โดยตั้งเป้าภายในปี 2568 ฟาร์มแม่พันธุ์อุ้มท้องของซีพีเอฟในประเทศไทยจะเป็นคอกขังรวมทั้งหมด และในปี 2571 ฟาร์มสุกรอุ้มท้องของซีพีเอฟทั่วโลกจะเป็นระบบคอกขังรวม 100%
นอกจากนี้ ยังพยายามลด ละ เลิก การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของสุกรทั้งการทำหมัน การตัดหรือกรอฟัน และการตัดหาง ตามหลัก 3’Ts (No Testicles, No Teeth Clipping and No Tail Docking) พร้อมนำของเล่น มาให้หมูได้กัดเล่น เพื่อลดความเครียดและสอดคล้องตามพฤติกรรมธรรมชาติ ช่วยลดพฤติกรรมการกัดกันเองจนบาดเจ็บ ซึ่งในปีที่ผ่านมาสามารถยกเลิกการตอน 700,000 ตัว ยกเลิกการกรอเขี้ยว 2 ล้านตัว ยกเลิกตัดใบหูมากกว่า 3 ล้านตัว และทยอยยกเลิกการตัดหาง 3,000 ตัว และที่เลี้ยงในมาเลเซียและไต้หวันไม่มีการตัดหรือกรอฟันแล้ว 100%
ส่วนธุรกิจสัตว์น้ำปัจจุบันในการเพาะลูกกุ้ง บริษัทได้นำนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ทำให้แม่พันธุ์กุ้งสามารถสร้างและวางไข่ได้ตามธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นต้องตัดก้านตารวมทั้งการนำโปรไบโอติกมาใช้ช่วยให้กุ้งมีสุขภาพแข็งแรงและช่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นไม่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
ทั้งนี้ ซีพีเอฟวัดผลการส่งเสริมสวัสดิภาพของสัตว์ (WOMs) โดยเน้นการประเมินสุขภาพสัตว์ทั้งร่างกายและจิตใจของฟาร์มเลี้ยงสัตว์ทั้งหมด โดยให้ความสำคัญกับปัจจัยหลัก คือ อัตราการเลี้ยงรอด อัตราการเข้าคลอด จำนวนแม่หมูที่เลี้ยงในคอกขังรวม จำนวนหมูที่ไม่ตอน และไม่ตัดหาง ระยะเวลาการขนส่ง และการทำให้สลบก่อนการชำแหละการแสดงออกพฤติกรรมทางธรรมชาติ เป็นต้น ตามมาตรฐานสากล.
September 10, 2020 at 12:00PM
https://ift.tt/32fgyvd
CPF เลี้ยงสุกรแบบอิสระ ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ - ประชาชาติธุรกิจ
https://ift.tt/2MtBO7Q
Bagikan Berita Ini
0 Response to "CPF เลี้ยงสุกรแบบอิสระ ยกระดับสวัสดิภาพสัตว์ - ประชาชาติธุรกิจ"
Post a Comment