Search

ผุดแอปฯ ช่วยตรวจสอบ "เห็ดพิษ" ลดเสี่ยงตาย - ผู้จัดการออนไลน์

seridapura.blogspot.com


ปัจจุบันมีการจำแนก "เห็ด" แล้วกว่า 3 หมื่นชนิด มีทั้งเห็ดที่กินได้ และกินไม่ได้ แต่เราคนธรรมดาทั่วไป คงไม่สามารถรู้ได้ทั้งหมดว่าแล้ว "เห็ด" รูปร่างหน้าตาแบบไหนที่เรากินได้ หรือกินไม่ได้กันแน่

เบื้องต้น ศูนย์ข้อมูลพิษวิทยา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงลักษณะของเห็ดพิษว่า 1. ส่วนใหญาเจริญงอกงามในป่า 2. ก้านสูง ลำต้นโป่งพองออก โดยเฉพาะที่ฐานกับที่วงแหวนเห็นชัดเจน 3. สีผิวของหมวกมีได้หลายสี เช่น สีมะนาว ถึงสีส้ม สีขาวถึงสีเหลือง 4. ผิวของหมวกเห็ดส่วนมากมีเยื่อหุ้มดอกเห็ดเหลืออยู่ในลักษณะที่ดึงออกได้ หรือเป็นสะเก็ดติดอยู่ 5. ครีบแยกออกจากกันชัดเจน มักมีสีขาว บางชนิดสีแดงหรือสีเขียวอมเหลือง และ 6. สปอร์ใหญ่มีสีขาวหรือสีอ่อน มีลักษณะใส ๆ รูปไข่กว้าง

อย่างไรก็ตาม เห็ดพิษหลายชนิดก็ไม่ได้สังเกตได้ง่าย เพราะมีรูปลักษณ์เหมือนเห็ดที่กินได้ ประกอบกับช่วงฤดูฝน ชาวบ้านนิยมเข้าไปเก็บเห็ดในป่ามารับระทาน ทำให้ช่วง พ.ค. - ส.ค.ของทุกปี มักมีอุบัติการผู้ป่วยจากอาหารเป็นพิษจากเห็ดพิษจำนวนมากและสูงที่สุดของปี


หากดูข้อมูลสถานการณ์ในปี 2563 ช่วง ม.ค. - มิ.ย. มีรายงานที่ได้รับพิษจาก เห็ดพิษที่มาจากป่าธรรมชาติมากถึง 275 ราย ตัวอย่างเห็ดพิษจากหลากหลายแห่ง ถูกส่งไปตรวจที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้แก่ จังหวัดบุรีรัมย์ อุบลราชธานี อำนาจเจริญ อุดรธานี ระยอง และตรัง โดยจังหวัดอุบลราชธานีพบผู้ป่วยสะสมสูงสุด

เห็ดที่มีรายงานการเกิดเหตุ ได้แก่ เห็ดหมวกจีน เห็ดคันร่มพิษ เห็ดก้อนฝุ่น และเห็ดระงาก ซึ่งเห็ดพิษเหล่านี้มีลักษณะรูปร่างหน้าตาหรือเรียกว่าลักษณะทางสัณฐานวิทยาที่คล้ายกับเห็ดรับประทานได้ เช่น เห็ดหมวกจีนและเห็ดคันร่มพิษคล้ายกับเห็ดปลวก (เห็ดโคน) เห็ดระงากพิษคล้ายกับเห็ดระโงกขาวกินได้ และเห็ดก้อนฝุ่นคล้ายกับเห็ดเผาะ ซึ่งอาจทำให้ชาวบ้านเข้าใจผิด และเก็บมารับประทานจึงได้รับสารพิษเข้าไป


จากปัญหานี้ เพื่อความง่ายในการตรวจสอบเห็ด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้จัดทำแอปพลิเคชันเพื่อช่วยในการตรวจสอบและแยกแยะว่า เป็น "เห็ดพิษ" หรือไม่

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า กรมฯ เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าวจึงร่วมกับมหาวิทยาลัยมหาสารคามในการจัดทำฐานข้อมูลและพัฒนา Application Mushroom Image Matching ชื่อว่า “คัดแยกเห็ดไทย” เพื่อใช้ตรวจสอบเห็ดมีพิษและเห็ดที่รับประทานได้ในประเทศไทย โดยรวบรวมภาพถ่ายของเห็ดทั้งเห็ดพิษและเห็ดที่รับประทานเพื่อใช้ประมวลผลด้วยโปรแกรมจดจำรูปภาพ แสดงผลชนิดของเห็ดและร้อยละของความถูกต้อง

นพ.โอภาสกล่าวว่า โปรแกรมแอปพลิเคชันในเวอร์ชัน V1.2R3 ปัจจุบัน มีฐานข้อมูลรูปภาพเห็ดพิษที่พบบ่อยเพื่อประมวลผล ได้แก่ กลุ่มเห็ดระงากพิษ กลุ่มเห็ดหมวกจีน เห็ดคันร่มพิษ เห็ดหัวกรวดครีบเขียวพิษ เห็ดถ่านเลือด เป็นต้น นอกจากข้อมูลภาพถ่ายแล้วในฐานข้อมูลได้ให้รายละเอียดเพิ่มเติมของเห็ดแต่ละชนิด เช่น ชื่อพื้นเมือง พิษที่พบในเห็ด อาการที่แสดงหลังจากได้รับสารพิษดังกล่าว เป็นต้น


สำหรับการใช้งานโปรแกรมดังกล่าว สามารถดาวน์โหลดได้เฉพาะสมาร์ทโฟนแบบ Android เท่านั้น โดยเข้า Play store ค้นหาคำว่า “คัดแยกเห็ดไทย” จากนั้นทำการลงทะเบียนและใช้งานโปรแกรมด้วยการเปิดกล้องและสแกนดอกเห็ดที่ต้องการทราบชนิด โปรแกรมจะเริ่มประมวลผลแบบเรียลไทม์ และจะหยุดเมื่อความถูกต้องของชนิดเท่ากับร้อยละ 95 หรือเราสามารถกดปุ่มเพื่อหยุดได้ นอกจากนี้โปรแกรมยังสามารถตรวจสอบชนิดของเห็ดจากภาพถ่ายที่เก็บไว้ในโทรศัพท์มือถือได้เช่นกัน

"การใช้แอปพลิเคชันคัดแยกเห็ดไทย เป็นเพียงเครื่องมือในการคัดกรองเบื้องต้น ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจในการรับประทานเท่านั้น เพราะแอปพลิเคชันดังกล่าวยังไม่สามารถแปรผลได้ 100% ดังนั้น การรับประทานเห็ดไม่ควรรับประทานเห็ดที่ไม่รู้จัก และที่สำคัญไม่รับประทานเห็ดกับสุรา หากมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน หรืออาการทางระบบประสาทให้หยุดรับประทานทันที แล้วรีบไปโรงพยาบาลในพื้นที่พร้อมทั้งนำตัวอย่างเห็ดสดที่เหลือจากการปรุงอาหารที่รับประทานไปด้วย เพื่อส่งตรวจพิสูจน์สารพิษและสายพันธุ์เห็ดพิษ” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กล่าว

อย่างไรก็ตาม นอกจากหลักการไม่รับประทานเห็ดที่ไม่รู้จักแล้ว การหันมารับประทานเห็ดที่รู้จักกันดี ถือเป็นอาหารที่ช่วยเสริมโภชนาการให้แก่ร่างกายได้


นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า เห็ดเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี ประกอบด้วย ใยอาหาร โพแทสเซียมสูง มีโซเดียม และวิตามิน โดยเฉพาะวิตามินบีที่จะช่วยควบคุมการทำงานของระบบย่อยอาหาร รวมทั้งซีลีเนียม ทำหน้าที่ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด และโพแทสเซียม ที่ช่วยควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ปรับสมดุลของน้ำในร่างกาย การทำงานของกล้ามเนื้อและระบบประสาทต่างๆ ที่ช่วยเสริมการทำงานของธาตุเหล็ก นอกจากนี้ เห็ดชนิดต่างๆ เช่น เห็ดหอม เห็ดนางรม เห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดหูหนู เห็ดแชมปิญอง เห็ดโคน เห็ดออรินจิและเห็ดเข็มทอง ยังประกอบด้วยโพลีแซคคาไรด์ (Polysaccharide) ที่จะทำงานร่วมกับแมคโครฟากจ์ (macrophage) ทำหน้าที่ทำลายเซลล์แปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย รวมถึงช่วยเสริมภูมิต้านทานที่ดี

"ก่อนนำเห็ดมาปรุงอาหาร ต้องล้างน้ำให้สะอาดหลายๆ ครั้ง และปรุงให้สุกร้อนก่อนกินทุกครั้ง ไม่ควรเก็บหรือซื้อเห็ดป่าที่ไม่รู้จักมาปรุงอาหาร หรือกินแบบดิบเด็ดขาด" นพ.สราวุฒิกล่าว


Let's block ads! (Why?)




July 21, 2020 at 09:57AM
https://ift.tt/2WENbPT

ผุดแอปฯ ช่วยตรวจสอบ "เห็ดพิษ" ลดเสี่ยงตาย - ผู้จัดการออนไลน์

https://ift.tt/2MtBO7Q


Bagikan Berita Ini

0 Response to "ผุดแอปฯ ช่วยตรวจสอบ "เห็ดพิษ" ลดเสี่ยงตาย - ผู้จัดการออนไลน์"

Post a Comment

Powered by Blogger.